กำไลหางช้างเสริมบารมีเฮงๆปังๆ

ช้าง… เป็นสัตว์มงคล คู่บ้าน คู่เมืองของประเทศไทยมาทุกยุคทุกสมัย รวมไปถึงประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ ต่างก็มีความเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์ประเสริฐ มีความหมายที่ดี เช่น หมายถึงโชคลาภ ยศถาบรรดาศักดิ์และในสมัยโบราณยังได้มีการใช้ช้างในการทำสงครามและกระทำยุทธหัตถี เพื่อป้องกันและรักษาเอกราชอีกด้วย

ตำนานความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับความสำคัญของช้าง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะอิงอยู่กับคติทางพระพุทธศาสนาว่า ช้างเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแห่งการบำเพ็ญบารมีและความศักดิ์สิทธิ์

“ช้าง” เป็นสัตว์ใหญ่ที่แสดงถึงอำนาจคนโบราณเชื่อว่าผู้ที่มีหางช้างพกติดตัวจะปลอดภัยแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ เครื่องรางช้างที่ทำจาก “ขนหางช้าง” ว่ากันว่าสามารถป้องกันคุณไสยได้ทุกชนิด ลำพังแต่ขนหางช้างอย่างเดียวก็ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังอยู่ในตัวอยู่แล้ว จึงมีผู้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมงคล ไม่ว่าจะเป็นแหวน กำไล ที่สามารถพกติดตัวได้ง่ายและเพิ่มความขลัง

ดังปรากฏในชาดกเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นอดีตชาติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นพระยาช้างที่ทรงบำเพ็ญบารมี เช่น พระยาฉัททันต์และพระยาช้างปัจจัยนาเคนทร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบำเพ็ญบารมีในพระเวสสันดรชาดก และพระยาเศวตมงคลหัตถีหรือพระยามงคลนาคในทุมเมธชาดกและตามพระพุทธประวัติ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์ ก็ทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกนำดอกบัวมาถวาย อันเป็นนิมิตว่า ผู้มีบุญญาธิการเพียบพร้อมด้วยบารมี ได้มาอุบัติเป็นมนุษย์สู่พระครรภ์มารดาทางพระนาภีเบื้องขวาในรูปของช้างเผือก ด้วยเพราะเหตุนี้เอง “ช้างเผือก”จึงเป็นที่นับถือว่าเป็นสัตว์มงคลที่สำคัญประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา

ส่วนความเชื่อในทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีพระเป็นเจ้า คือ พระอิศวร พระพรหมและพระวิษณุหรือพระนารายณ์เชื่อว่า “ช้างเผือก” กำเนิดจากการสร้างของพระเป็นเจ้าเหล่านี้และพระเพลิงหรือพระอัคนี

ในตำราคชลักษณ์ ได้แบ่งช้างออกเป็นวรรณะ เช่นเดียวกับวรรณะของทางอินเดีย โดยแบ่งตามตระกูลทั้งหมด 4 ตระกูล ซึ่งได้แก่

  1. อิศวรพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอิศวรหรือพระศิวะ ทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะกษัตริย์ : ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ คือมีเนื้อหนังอ่อนนุ่ม มีหน้าใหญ่ ท้ายต่ำ ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ โขมดสูง คิ้วสูง น้ำเต้าแฝด มีกระเต็มตัว ขนที่หลังหู ปาก และขอบตามีสีขาว อกใหญ่ งามีสีเหลือง เรียวรัดงดงาม
  2. พรหมพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระพรหมทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะพราหมณ์ : ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้ มีผิวกายดำสนิท งาอวบ งอน เสมอกันทั้งสองข้าง เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม คอย่นเมื่อเยื้องย่าง อกใหญ่ หน้าเชิด
  3. วิษณุพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงสร้างจัดเป็นช้างวรรณะแพศย์ : ลักษณะเด่นช้างตระกูลนี้ มีผิวหนา ขนหนา เกรียน สีทองแดง อก คอ และคางใหญ่ หางและงวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น และหลังราบ
  4. อัคนิพงศ์ เป็นช้างในตระกูลที่พระอัคนิหรือพระเพลิงทรงสร้าง จัดเป็นช้างวรรณะศูทร : ลักษณะเด่นของช้างตระกูลนี้คือมีท่วงทีงดงาม เวลาเดินจะเชิดงวง อกใหญ่ ปลายงาทั้งสองจะโค้งพอจรดกัน มีสีเหลือง ขนสีขาวปนแดง และผิวกายมีสีใบตองตากแห้ง

จะเห็นได้ว่า….ตำนานในทางศาสนา ทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์ ต่างก็มีความเกี่ยวพันกับช้างมาตลอด โดยช้างที่ทรงฤทธิ์ในเทวฤทธิ์ที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันดีอาทิเช่น ช้างเอราวัณ

หางช้าง ถือเป็นเครื่องรางที่มีมาแต่โบราณและยังเชื่อว่า หางช้างนั้นจะช่วยป้องกันอาถรรพ์และปัดเป่าเสนียดจัญไร ผู้คนที่รู้ซึ้งถึงศาสตร์นี้จะแสวงหาหางช้างมาเป็นเครื่องรางประจำกาย เวลาเดินทางไปแห่งหนตำบลใด ก็จะปลอดภัยจากคุณไสยและมนต์ดำ

นอกจากนี้ขนหางช้างยังช่วยด้านเสริมบารมี นำพาโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ผู้ครอบครองเป็นเจ้าของอีกด้วย แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยังใส่ “กำไลเงินหางช้างสีขาว” ซึ่งได้ใส่มานานแล้ว

การจะนำขนหางช้างมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องประดับหรือเครื่องรางต่างๆได้นั้น จะต้องมีการผ่านพิธีกรรมของหมอช้าง เพื่อขออนุญาตช้างตัดขนหางออกมา ซึ่งเรียกได้ว่า การได้มาโดยความยินยอมจากช้าง จะถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถช่วยปัดรังควานและสิ่งอัปมงคลออกไปได้ ส่วนของขนหางช้างนั้น คือเส้นขนที่ออกจากหนังส่วนปลายหางของช้างและเมื่อตัดออกแล้ว เส้นขนนั้นจะสามารถงอกออกได้อีกเหมือนกับเส้นผม

คนโบราณที่ไม่ได้เรียนอาคมมักจะพก “ขนหางช้าง” ติดตัวอยู่เสมอ นัยว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ปัดเป่ารังควานจากภูตผีปีศาจและสัตว์ร้าย รวมถึงป้องกันคุณไสยต่าง ๆ ได้อีกด้วย

สำหรับชาวเหมอะโหน่ง ซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยในเขตภาคกลางของเวียดนาม มีความเชื่อว่า “ขนหางช้าง” เป็นสัญลักษณ์ของความรักและความภักดี ซึ่งหนุ่มๆ สาวๆ มักจะมอบให้แก่กันเป็นการแสดงออกถึงความรัก อีกทั้งยังเป็นทั้งเครื่องรางที่เสริมมงคลบารมี ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้อีกด้วย

ตามความเชื่อโบราณของชาวกูยเลี้ยงช้างมีความเชื่อว่า….

“หางช้าง” มีสองประเภท ได้แก่

1.ขนหางช้างสีดำ
2. ขนหางช้างสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของหายากคล้ายกับ งากำจัด งากำจาย และยังมีมีความเชื่ออีกว่า เป็นของแรงมีอนุภาพแรงกว่าขนหางช้างสีดำ (บางท่านเรียกว่าขนหางแก้ว ขนหางดอก ขนหางช้างเผือก)

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *