คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

พระคาถาชินบัญชร ควรจะเริ่มสวดเมื่อไหร่

การสวดคาถาในพระพุทธศาสนาทั่วไปไม่จำกัดเวลา คุณสามารถสวดคาถาชินบัญชรหรือคาถาอื่น ๆ ได้ตลอดวันที่คุณรู้สึกว่าเหมาะสมและสะดวกสบาย ซึ่งอาจเป็นตอนเช้า เมื่อตื่นจากนอน หรือตอนก่อนนอน เป็นต้น

แต่ในส่วนของคาถาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติด้านสมาธิ เช่น การสวดคาถาบุชชีหรืออนิจจัง เราควรทำเมื่อเรามีความสงบ ไม่รบกวน และสามารถสร้างความตั้งใจได้ดี

อย่างไรก็ตาม ควรจำไว้ว่า การสวดคาถาเพื่อประคับประคองใจ หาความสงบในใจ และพัฒนาศีลธรรม เช่น เมตตา ความเมตตาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเมื่อไหร่ก็ตาม

จึงไม่มีการกำหนดเวลาที่ต้องสวดคาถาชินบัญชรอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ ประสบการณ์ และความสะดวกของแต่ละบุคคล

คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

สำหรับการหัดสวด คาถาชินบัญชร บางตำราว่า..ควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูและให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต

คาถาชินบัญชร, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ ตั้งนะโม 3 จบ นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานว่า

คำภาวนาก่อนสวด

ตั้งนะโม 3 จบ  (ที่มาของบทสวด นะโม 3 จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)

พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม

ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า

ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง   ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ   เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท

  1. ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตวา มารัง สะวาหะนัง
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
  2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง     มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
  3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.
  4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง  โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
  5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
    กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.
  6. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
    นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว
  7. กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง     ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
  8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ        อุปาลี นันทะ สีวะลี
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา       นะลาเต ติละกา มะมะ.
  9. เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
    เอเตสีติ มะหาเถรา             ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเตเชนะ          อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
  10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ           ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ        วาเม อังคุลิมาละกัง
  11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ         เสสา ปาการะสัณฐิตา
  12. ชินา นานาวะระสังยุตตา       สัตตัปปาการะ ลังกะตา
    วาตะปิตตาทะสัญชาตา        พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
  13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
    วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
  14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ       เต มะหาปุริสาสะภา.
  15. อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ                     ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ                   ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ                   ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต         จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

คำแปลพระคาถาชินบัญชร ทุกบท

  1. พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
  2. มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
  3. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
  4. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
  5. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
  6. มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
  7. พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
  8. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
  9. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
  10. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
  11. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
  12. อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
  13. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
  14. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
  15. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

ความหมายของชินบัญชร

ในความหมายของคำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่

จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ มาสถิตในทุกส่วนของร่างกายจนรวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวของผู้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรจนกระทั่งอันตรายก็ไม่สามารถหาช่องโหว่เพื่อสอดแทรกเข้ามาได้

เราได้รู้จักประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องไปกำหนดจิตใจให้สงบเพื่อเริ่มสวดภาวนาพระคาถากันแล้ว

อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดสวดมนต์ หรือภาวนาคาถาชินบัญชรอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะกิน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูลผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ได้ก็เกิดเมตตามหานิยม มีลาภผลทวี ขจัยภัยภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ

หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณที่ว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จได้สมดังใจ

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *